วีดีโอของฉัน
เนื้อหาทะเล
เกี่ยวกับทะเลไทย
Edit TitleEdit Detail
ความรู้ทั่วไป
ทะเลไทยมีพื้นที่อันไพศาลมากกว่า 350,000 ตร.กม. ตั้งอยู่ในเขตที่เรียกว่า “อินโดแปซิฟิก” (Indo-Pacific) อันเป็นเขตที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ผลการสำรวจและศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ยืนยันว่าทะเลเขตนี้เป็น พื้นที่ที่มีอากาศและอุณหภูมิของน้ำทะเลพอเหมาะพอดี ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากที่สุดในโลก ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้ได้แพร่เผ่าพันธุ์กระจายอยู่ในท้องทะเลทั้ง3ด้าน คือ อ่าวไทยตอนบนหรือชายทะเลแถบภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันหรือทะเลไทยภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ประเทศไทยมีชายฝั่งยาวกว่า 2,500 กม. และมีเกาะน้อยใหญ่กว่า 500 เกาะ ซึ่งน้อยกว่าประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ความจำกัดของชายฝั่งและหมู่เกาะมิได้หมายความว่าโลกใต้ทะเลของไทยจะมี ความสวยงามหรือทรงคุณค่าน้อยกว่าประเทศอื่นๆ โดยสามารถแบ่งเขตน่านน้ำออกได้เป็น 3 ภูมิภาค คือ อ่าวไทยตอนบนหรือแถบชายทะเลภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนล่างหรือหรือแถบชายทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามัน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวต่างกัน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่านได้แก่ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นตัวกำหนด ดังนั้นในระหว่างเดือนพฤศจิกายนปลายเดือนเมษายนจึงเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ส่วนในช่วงปลายเดือนเมษายน-ปลายเดือนตุลาคมจะเป็นเวลาสำหรับท่องเที่ยวทะเล อ่าวไทยตอนล่าง จึงอาจกล่าวได้ว่าเราสามารถที่จะท่องเที่ยวน่านน้ำไทยได้ตลอดทั้งปี โดยหมุนเวียนสลับกันไปตามภูมิภาคต่างๆของท้องทะเล แต่ทั้งนี้จะมีช่วงที่มีอากาศดีทั้งสองฟากฝั่งตรงกันอยู่เดือนหนึ่งก็คือ “เดือนมีนาคม” นับเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวทางทะเลได้ทั่วน่านน้ำไทยอย่างสุขสันต์หรรษา
สิ่งที่ทำให้ทะเลไทยมีลักษณะโดดเด่นนั่นก็คือ “ลักษณะทางภูมิศาสตร์” เมือง ไทยมีทะเลทั้งฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกอันได้แก่ “อ่าวไทย” และฝั่งมหาสมุทรอินเดียอัน ได้แก่ “ทะเลอันดามัน” ทะเลทั้งสองฝั่งของไทยเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า“ไหล่ทวีป” คือ เป็นเขตที่มีน้ำลึกไม่เกิน 200 เมตร และเป็นบริเวณที่มีผลผลิตขั้นต้นสูงที่สุดของท้องทะเลทั้งนี้เนื่องมาจากแสง แดด การหมุนเวียนของน้ำ และปัจจัยอื่นๆอีกหลายประการ ดังจะเห็นได้ว่าตามข้างๆแนวหินผารอบเกาะและพื้นทรายใต้ทะเลไทยมักจะมีแนว ปะการังอันเป็นที่อาศัยหากินของสรรพสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่มีรูปลักษณ์และ สีสันงดงามแปลกตาที่เรียกกันว่า “อุทยานใต้ทะเล” หรือ “ป่าใต้ทะเล” ซึ่งมีอยู่มากมายหลายแห่ง แต่ละแห่งก็จะมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันออกไปตามระบบนิเวศน์ที่มันอาศัยอยู่
หากจะเปรียบเทียบความสำคัญของทะเลทั้งสองฝั่งของ ไทยแล้ว คงยากที่จะสรุปได้ว่าทะเลด้านไหนมีความสำคัญมากกว่ากัน แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร สิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของทะเลไทยก็คือ“ความแตกต่างกันของท้องทะเลทั้ง สองฝั่งที่ก่อให้เกิดความหลากหลายของภูมิศาสตร์และสิ่งมีชีวิต อันเป็นลักษณะเฉพาะที่ยากจะหาได้จากทะเลอื่นใดในโลกใบนี้”
ส่วนใหญ่ตามชายทะเลและเกาะแก่งกลางท้องทะเลใน เมืองไทยจะอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ โดยได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลจำนวน 21 แห่ง(อีก 3 แห่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการฯ) แต่ชายทะเลและเกาะทุกแห่งก็มิใช่ว่าจะมีแนวปะการังเสมอไป อุทยานฯ ทางทะเลที่มีปะการังน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ได้แก่ อุทยานฯ เขาสามร้อยยอด อุทยานฯ หาดวนกร จ. ประจวบคีรีขันธ์ อุทยานฯ น้ำตกธารเสด็จ จ.สุราษฎร์ธานี อุทยานฯลำน้ำกระบุรี จ.ระนอง อุทยานฯเขาหลัก-เขาลำรู่ อุทยานฯเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ และอุทยานฯ ทะเลบัน จ.สตูล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น